กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีนโยบายเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาการเลี้ยงโคนมของประเทศไทย ที่มีการเลี้ยงมานานและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้การเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพที่มีการสร้างรายได้ ให้แก่เกษตรกรประมาณ 17,100 ครัวเรือนและมีผู้ประกอบการ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมโคนมจำนวน มากแต่การเลี้ยงโคนมในปัจจุบันยังมีปัญหา คือ การผลิตน้ำนมของเกษตรกรมีต้นทุนสูงเนื่องจากต้นทุน ด้านอาหารโคนมทั้งอาหารข้นเเละอาหารหยาบที่มีปริมาณไม่เพียงพอ และ มีคุณภาพยังไม่เหมาะสม เกษตรกรต้องเลี้ยงโคนมทดเเทนในฟาร์ม ซึ่งเป็นภาระเเละมีค่าใช้จ่ายจำนวนมากไม่เหมาะสมกับ สถานการณ์แรงงานขาดเเคลนในปัจจุบันการขนส่งน้ำนมจากฟาร์มเกษตรกรสู่สหกรณ์หรือศูนย์รวบรวม น้ำนมมีค่าใช้จ่ายสูงและมีปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำนม เนื่องจากระบบการเก็บรัักษาและการขนส่งน้ำนม ที่ยังขาดประสิทธิภาพ
ยกระดับฟาร์มมาตรฐานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และ ปริมาณผลผลิตน้ำนมทีี่มีคุณภาพเพื่อ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและเพิ่มขีดความสามารถในการเเข่งขันของประเทศ โดย
1. การปรับโครงสร้างฟาร์มเกษตรกร
2. สร้างขีดความสามารถเเละเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม
3. พัฒนาการเลี้ยงโคนมเชิงพาณิชย์
เป้าหมาย
เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม มีรายได้เพิ่มมากขึ้น ปริมาณผลผลิตน้ำนมที่มีคุณภาพมากขึ้น ลดต้นทุนในการขนส่งน้ำนมดิบ ลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในฟาร์มโคนม เกิดธุรกิจ การเลี้ยงโคนมทดแทนอย่างยั่งยืน โดยเกษตรกรมีอาหารหยาบคุณภาพดี เลี้ยงโคนมอย่าง เพียงพอและมีระบบ Feed Center ผลิตอาหารสำเร็จรูป TMR ที่กลุ่มเกษตรหรือสหกรณ์ เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับ
- ฟาร์มโคนมของเกษตรกร มีประสิทธิการการผลิต นมดิบมีคุณภาพเพิ่มขึ้น
- เกษตรกรมีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดปัญหาขาดแคลนแรงงานในฟาร์ม
- เกษตรกรมีอาหารหยาบคุณภาพดี มีระบบ Feed Center - TMR
- คุณภาพนมดีขึ้น ต้นทุนค่าขนส่งนมดิบลดลง
- เกิดธุรกิจเลี้ยงโคนมอย่างยั่งยืน
- ขีดความสามารถในการแข่งขันของการเลี้ยงโคนมเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้น
ระยะเวลาดำเนินการ
พ.ศ. 2558 - 2562
กิจกรรม
- กิจกรรมที่ 1 ปรับโครงสร้างฟาร์มเกษตรกร
- กิจกรรมที่ 2 พัฒนาระบบเลี้ยงโคนสาวทดแทน
- กิจกรรมที่ 3 จัดตั้งศูนย์ผลิตอาหาร (Feed Center)
- กิจกรรมที่ 4 การรวบรวมน้ำนมดิบและลดต้นทุน Logistic
- กิจกรรมที่ 5 สร้างความเชื่อมโยง